วันจันทร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2559

โครงงานภาษาไทย


โครงงานคอมพิวเตอร์บูรณาการวิชาภาษาไทย
เรื่อง
การถอดบทความร้อยกรอง
จัดทำโดย
ด.ญ. มัณฑกานต์ เนยอิ่ม ชั้น ม. 3/2 เลขที่ 26
เสนอ
นายวสันต์ กฤษฤาหรรษ์
นางกุลฤดี กฤษฤาหรรษ์
รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา ง23102 และ ท223102
โรงเรียนไพศาลีพิทยา อ.ไพศาลี จ.นครสวรรค์
สำนักงานเขตพื้นที่มัธยมศึกษา เขต 42








บทที่ ๑        
           บทนำ
 ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
          ในการเรียนภาษาไทย  ทักษะด้านการอ่านเป็นสิ่งสำคัญ แต่ในบางครั้งบทเรียนนอกจากจะเป็นร้อยแก้วธรรมดาแล้วยังมีร้อยกรองอีกด้วย ซึ่งร้อยกรองบางบทยังใช้คำศัพท์ที่ยากและไม่คุ้นเคยในชีวิตประจำวัน จึงทำให้ยากต่อการทำความเข้าใจ ผู้จัดทำโครงงาน จึงได้นำร้อยกรองบทหนึ่งนำมาแยกคำศัพท์ยาก หาความหมายของคำศัพท์นั้น พร้อมถอดความเป็นร้อยแก้ว เพื่อความสะดวกในการศึกษาต่อไป
   วัตถุประสงค์
๑.เพื่อหาความหมายของคำศัพท์ยากจากบทร้อยกรอง
๒.เพื่อถอดความบทร้อยกรองเป็นร้อยแก้ว
ขอบเขตของการศึกษาค้นคว้า
        ในการศึกษาค้นคว้าจะศึกษาเฉพาะคำศัพท์และถอดความบทร้อยกรองที่ชื่อ ชโย สยาม , น้ำตาและ ณ ยามสายัณห์





บทที่ ๒
เอกสาร
          บทร้อยกรองทั้ง 3 เรื่องที่ได้นำมาทำโครงงานนี้เป็นวรรณกรรมปัจจุบัน คือ วรรณกรรมที่เริ่มตั้งแต่ต้นสมัยรัชกาลที่ ๕ มาจนถึงปัจจุบัน ทั้งนี้เพราะในสมัยรัชกาลที่ ๕ นั้นเป็นระยะแรกเริ่มที่มีวรรณกรรมของไทยแบบใหม่ๆเกิดขึ้นมาก วรรณกรรมปัจจุบันมีการพัฒนาทั้งรูปแบบการประพันธ์และความคิดของกวี ถึงแม้บางเรื่องจะรจนาขึ้นตามแนวฉันทลักษณ์เดิมคือเรื่อง น้ำตา ซึ่งแต่งเป็นกาพย์ยานี ๑๑ ก็ตาม แต่กวีก็ได้เสนอแนวคิดสร้างสรรค์ที่น่าสนใจอย่างมาก ส่วนเรื่องอื่นนั้นแต่งเป็นคำฉันท์ แต่ก็เป็นคำฉันท์ซึ่งกวีได้คิดประดิษฐ์ขึ้นเอง ได้แก่ เรื่อง ชโย สยาม ซึ่งแต่งเป็นสยามมณีฉันท์ อันมีลักษณะคล้ายกลอนแปด เรื่อง ณ ยามสายัณห์ ซึ่งแต่งเป็นเปษณนาทฉันท์อันเป็นฉันท์ที่มีลีลาคล้ายเสียงตำข้าวด้วยครกกระเดื่อง
น้ำตา
     แต่งโดย นายกำชัย  ทองหล่อ  ซึ่งได้มีโอกาสถวายพระอักษรสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอและสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯรัชกาลปัจจุบันทุกพระองค์ ผลงานของท่านมีมากมายเช่น ตำราหลักภาษาไทย นิราศ เรื่องสั้น บทวิทยุ เป็นต้น
ผังภูมิและฉันทลักษณ์
กาพย์ยานี ๑๑
              00000                             000000         (บทเอก)
    00000                                  000000        (บทโท)


น้ำตา
         น้ำตาเปรียบเหมือนเพื่อน                   คอยตักเตือนกระตุ้นใจ
ยามชื่นรื่นฤทัย                                          น้ำตาไหลหลั่งเปรมปรีดิ์

        หยาดเยิ้มเป็นหยาดแย้ม                     อาบสองแก้มแกมยินดี
ยามสุขสุดทวี                                            น้ำตาปรี่ประปรางทอง

        ดีใจก็ไหลหลั่ง                                  โศกเศร้าคลั่งก็หลั่งนอง
สบรักรักสนอง                                           หลังหล่อคลองนัยนา

        ชิงชังก็ไหลหลั่ง                                 โกรธเกลียดใครก็ไหลมา
ยามเกิดเกิดปรีดา                                      เกิดน้ำตาตื้นตันใจ

        ยามตายใจสร้อยเศร้า                           น้ำตาเคล้าเศร้าหทัย
ยามบวชบ่มบุญไป                                       น้ำตาไหลเพราะอิ่มบุญ

        แต่งงานบานจิตเคลิ้ม                          น้ำตาเยิ้มเสริมสุขหนุน
พลาดรักอกหักรุน                                       น้ำตาหลั่งถั่งนัยน์ตา

        พบกันพลันยินดี                                  น้ำตาปรี่เพราะปรีดา
จากกันพลันโศกา                                       น้ำตาไหลใจอาวรณ์

        น้ำตาเปรียบเหมือนเพื่อน                     คอยตักเตือนอนุสรณ์
เศร้าสุขทุกข์ม้วยมรณ์                                 รื่นเริงใจใช้น้ำตา
         ระบายความในจิต                               จึงเหมือนมิตรเสน่หา
คู่ทุกข์คู่ชีวา                                               เห็นใจฉันนิรันดร์เอย
 

ชโย สยาม
         แต่งโดย  น.ม.ส. คือพระนามแฝงของพระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ พระนามเดิมคือพระองค์เจ้ารัชนีแจ่มจรัส ซึ่งสยามมณีฉันท์นี้มีลักษณะคล้ายกลอนสุภาพ เป็นฉันท์ซึ่ง น.ม.ส. ทรงประดิษฐ์คิดขึ้นเอง ส่วนคำว่า ชโย ก็เพิ่งมีใช้ครั้งแรกในสมัยพระบาทสมเด็จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ผังภูมิและ ฉันทลักษณ์
สยามมณีฉันท์

                             000  00 000                                      000 00  000

000  00 000                                         000 00  000    
                                                                                     





ชโย   สยาม
  ชโยสยาม    ยามจะรุ่น                        สยามดรุณจะเร็วจะเจริญ
  คราวจะเรียนก็เพียรจะเพลิน                    ฤ ใครจะเกินสยามดรุณ
    กุมาระไทยไฉนจะหลง                        จะลืมพระองคะทรงสกุล
สยามรัฐอุบัติเพราะบุญ                           พระเดชพระคุณพระราชวงศ์
     ดรุณสยามมิคร้ามอุตส่าห์                         หทัยจะหาวิชาประสงค์
ประเทศจะงามสยามจะยง                            จะมั่นจะคงเพราะเหตุวิชา
      ชโยสยามอร่ามอะโข                           ดรุณจะโตจะเติบสิขา
สยามจะอยู่มิรู้ชรา                                 กระเดื่องวิชาวิชัยชโย

ณ ยามสายัณห์
     แต่งโดย สุภร ผลชีวินท่านมีผลงานทางด้านบทร้อยกรองและผลงานด้านดนตรีมากมายเปษณนาทฉันท์นี้ท่านเป็นผู้คิดประดิษฐ์ขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ. ๒๔๘๙ โดยการเลียนเสียงการตำข้าวด้วยครกกระเดื่อง






ผังภูมิและฉันทลักษณ์
เปษณนาทฉันท์
                      
   000  00 000                                         000 00  000

000  00 000                                         000 00  000    
                                                                         
           ยามสายัณห์ตะวันยิ่งย้อย                  แน่ะเร่งเท้าหน่อยทยอยเหยียบหนา
ตะแล้กแต้กแต้กจะแหลกแล้วจ้า                            กระด้งรีบมาเถอะรับข้าวไป
                   คณาเนื้อนวลก็ครวญคลอขับ               ระริกแคนรับสลับเสียงใส
กระเดื่องตำข้าวก็กราวเสียงไกล                              สนุกน้ำใจสมัยสายัณห์
                   ตะแล้กแต้กแต้กตะแล้กแต้กแต้ก        กระเดื่องดังแทรกสำรวลสรวลสันต์
มินานนักข้าวก็เปลือกร้าวพลัน                               บุรุษรีบดันกระด้งส่งมา
                   ประเพณีไทยสมัยก่อนเก่า                     ก็คงมีเค้าจะเนานานถ้า
ดรุณลูกหลานสถานท้องนา                                     สมัครรักษาขนบธรรมเนียม


บทที่ ๓
วิธีดำเนินการ
๑.       สำรวจและเลือกเรื่องที่จะนำมาทำโครงงาน
๒.    อ่านทำความเข้าใจบทร้อยกรองที่จะศึกษาพร้อมหาคำศัพท์ที่ไม่ทราบความหมาย
๓.     หาความหมายของคำศัพท์
๔.     ถอดความบทร้อยกรองโดยใช้ความหมายของคำศัพท์ที่หามาประกอบ
๕.     ทำซ้ำตั้งแต่ข้อที่ ๑-๔โดยเปลี่ยนเป็นบทร้อยกรองเรื่องต่อไปจนครบ๓เรื่อง












บทที่ ๔
ผลการดำเนินการ
คำศัพท์จากเรื่อง  น้ำตา
๑.  แกม          หมายถึง     ปน
๒. ปราง         หมายถึง      แก้ม
๓.  เปรมปรีดิ์  หมายถึง      การยินดี, การปลื้มใจ
๔.   นัยนา       หมายถึง      ดวงตา
๕.   ถั่ง             หมายถึง     ไหลอย่างเท, ไป, ถึง
๖.   อาวรณ์       หมายถึง     คิดกังวลถึง
บทความที่ถอดความจากเรื่อง  น้ำตา
        คนเรามีน้ำตาเป็นเหมือนเพื่อน เพราะในยามสุข ดีใจ สมหวัง ยามเกิด บวช แต่งงาน ได้กลับมาพบกัน ก็ร้องไห้ หรือในยามที่เรามีความทุกข์ โศกเศร้า ชิงชัง โกรธ เกลียด ตาย อกหัก หรือพลัดพรากจากกัน ก็ร้องไห้อีก จึงกล่าวได้ว่าน้ำตาเป็นเหมือนเพื่อนทั้งยามทุกข์และสุขเพราะน้ำตาช่วยระบายความในใจและเห็นใจเราเสมอ
คำศัพท์จากเรื่อง ชโย สยาม
๑.  ชโย           หมายถึง     ความชนะ, คำเปล่งเสียงอวยชัยให้พร
๒. ดรุณ          หมายถึง      เด็กรุ่น, อ่อน, รุ่น
๓.  ทรงสกุล   หมายถึง      มีเชื้อสาย, เชื้อชาติผู้ดี
๔.   อุบัติ         หมายถึง       การเกิดขึ้น, เกิด , มีรากเหง้า
๕.   คร้าม        หมายถึง     สะทกสะท้านด้วยความกลัว
๖.   อะโข         หมายถึง      มาก, หลาย
๗.   สิขา          หมายถึง       การศึกษา, ข้อปฏิบัติมี ศีลสมาธิ ปัญญา
๘.   กระเดื่อง   หมายถึง      เครื่องตำข้าวชนิดหนึ่ง, สูงขึ้น,โด่งดัง
๙.    วิชัย           หมายถึง     ความชนะ, ชัยชนะ
บทความที่ถอดความจากเรื่อง ชโย สยาม
  เยาวชนชาวสยามซึ่งกำลังเจริญวัย ในยามเรียนก็ขยันหมั่นเพียรด้วยความเพลิดเพลินอย่างไม่มีใครเหมือน และยังไม่หลงลืมพระเดชพระคุณของพระมหากษัตริย์ไทยและพระราชวงศ์ที่สร้างชาติบ้านเมืองมา เยาวชนสยามได้อุตส่าห์แสวงหาความรู้ที่ต้องการเพราะประเทศจะมั่นคงได้ด้วยวิชาความรู้
คำศัพท์จากเรื่อง ณ ยามสายัณห์
๑.  กราว          หมายถึง     เสียงอย่างเสียงตบมือพร้อมๆกัน
๒. ดรุณ          หมายถึง      เด็กรุ่น, อ่อน, รุ่น
๓.  เค้า            หมายถึง      เครื่องหมายแสดงเหตุ, ต้นเงื่อน
๔.   คณา         หมายถึง       หมู่, พวก, ฝูง
๕.   ทะยอย     หมายถึง       ย่อยๆกันไป, ติดๆกันไป
๖.    ระริก       หมายถึง       (หัวเราะ), ลั่นเร็วๆ
๗.   สมัย         หมายถึง       เวลา, คราว
๘.   สายัณห์    หมายถึง      เวลาเย็น
๙.    สำรวล      หมายถึง     หัวเราะ, รื่นเริง
0.   แหลก      หมายถึง     ละเอียดเป็นผง, ป่น, ป่นปี้
บทความที่ถอดความจากเรื่อง ณ ยามสายัณห์
     ในยามเย็นใกล้ค่ำ ตะวันใกล้จะตกดิน ชาวนาต่างเร่งมือตำข้าว พวกผู้หญิงก็ร้องเพลงคลอเสียงแคนสลับครกกระเดื่องและเสียงเทข้าวดังไปไกล ชาวนาล้วนมีความสุข เมื่อเปลือกข้าวเริ่มแตก ฝ่ายชายก็ส่งกระด้งมารับข้าวที่ตำไปฝัด ประเพณีไทยเป็นเช่นนี้มานานแล้ว และคงจะสืบต่อไปได้อีกนาน หากเด็กๆผู้เป็นลูกหลานของชาวนาจะช่วยกันรักษาประเพณีสืบไป
















บทที่   
สรุปผลการดำเนินการ
   จากการทำโครงงานเรื่อง การถอดความบทร้อยกรอง ทำให้ได้คำศัพท์และความโดยสรุปดังนี้
๑.     บทร้อยกรองเรื่อง น้ำตา มีคำศัพท์ ทั้งหมด ๖ คำ ความโดยสรุปคือ มนุษย์มีน้ำตาเป็นเพื่อนทั้งยามทุกข์และยามสุข
๒.   บทร้อยกรองเรื่อง ชโย สยาม มีคำศัพท์ทั้งหมด ๙คำ ความโดยสรุปคือ เยาวชนชาวสยามต่างขยันเรียนและไม่เคยลืมพระเดชพระคุณของพระมหากษัตริย์ไทย
๓.   บทร้อยกรองเรื่อง ณ ยามสายัณห์ มีคำศัพท์ทั้งหมด ๑0 คำ ความโดยสรุป คือ ในเวลาเย็นชาวนาต่างช่วยกันตำข้าวอย่างสนุกสนานทั้งชายหญิง
ประโยชน์ที่ได้รับ
๑.     ได้ทบทวนการสรุปและการถอดความที่ได้เรียนผ่านมา
๒.   ได้รู้จักคำศัพท์ใหม่ๆมากขึ้น
๓.    ได้เรียนบทร้อยกรองในวิชาภาษาไทยของระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่๕
ข้อเสนอแนะ
   ควรศึกษาคำศัพท์และบทร้อยกรองอื่นๆเพิ่มเติม
(เอกสารนี้คัดมาจากรายงานนักเรียนโรงเรียนบ้านโสกแดงนำเสนออาจารย์)



บรรณานุกรม




















ภาคผนวก



ครูที่ปรึกษา
ครู วสันต์ กฤษฤาหรรษ์
ครู กุลฤดี กฤษฤาหรรษ์
คำอธิบาย: https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEisiJldnzwbHyBBriFtm2qKJm1eT5UcIm45onVnKgOOskCo9gxnx67irbObQx57B2BWKF49U3aP13d3r1FrQEffVszNJ014iH66evM-gLlJm5eG-Q5thOWP-YW6y3-q175_gRKs798MKec/s1600/14017645_518640051658502_1142325245_n.png

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น